ความรู้เกี่ยวกับสี

posted in: Uncategorized | 0

สี (Color, Paint)

สีเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว, เหนียว มีผลมาจากการรวมตัวกันทางเคมีของสารหลายตัว เพื่อใช้ในการเคลือบผิวงานของวัสดุที่ต้องการให้มีความสวยงาม คงทนและให้ความรู้สึกที่สดใส รื่นรมย์ มีสีสรร มีชีวิตชีวา

ประเภทของสีแบ่งตามลักษณะการใช้งาน
1. สีสำหรับ อาคาร-บ้านเรือน
2. สีสำหรับ อุตสาหกรรมยานยนต์
3. สีสำหรับ อุตสาหกรรมผ้า
4. สีสำหรับ อุตสาหกรรมงานพิมพ์
5. สีสำหรับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้
6. สีสำหรับ อุตสาหกรรมอื่นๆ

ประเภทของสีแบ่งตามลักษณะของตัวทำละลาย และกระบวนการแห้งตัวและการสร้างฟิล์ม
แบ่งตามตัวทำละลาย
1. น้ำมัน (Solvent Base)
2. น้ำ (Water Base)
แบ่งตามขบวนการแห้งตัวและการสร้างฟิล์ม (Film)
1. Air Drying Coating การผึ่งให้แห้งโดยอากาศตามธรรมชาติ
2. Air Drying Coating Catalysed การผึ่งให้แห้งโดยมีสารเป็นตัวเร่งให้เร็วขึ้น
3. Heat Cure Coating การทำให้แห้งโดยใช้ความร้อน
4. Rediation Cure Coating การทำให้แห้งโดยการแผ่รังสีความร้อน รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า กัมมนตภาพรังสี

องค์ประกอบของสี
Resin/Binder สารยึด
Pigment สีผง รงควัตถุ สีทึบปกปิด
Solvent ตัวทำละลาย
Additive สารปรุงแต่ง สารปรับสภาพ

Resin/Binder สารยึดหรือสารประสาน เป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตสีและเป็นกุญแจสำคัญของสีชนิดนั้นๆ ซึ่งมีอยู่หลายประเภท เช่น
ไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose)
อัลคิด เรซิน (Alkyd Resins)
ยูเรีย ฟอมัลดีไฮด์ เรซิน (Urea Formaldehyde Resins)
อีป๊อคซี่เรซิน (Epoxy Resins)
อะคริลิค เรซิน (Acrylic Resins)
ซิลิโคน เรซิน (Silicone Resins)

Pigment ผงสี ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้
เป็นสีทึบ (Opacity)
ทำหน้าที่ปกปิด (Protection)
ป้องกันการกัดกร่อน (Corrosion Prevention)
มีความทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศและแสงแดด
มีความสวยงาม (Color)

Solvent ตัวทำละลาย มีคุณสมบัติดังนี้
เป็นสารเหลว
เป็นตัวทำละลายและเจือจางเรซิน
เป็นตัวละลายสีเพื่อความสะดวกในการใช้งาน

Additive สารปรุงแต่ง มีคุณสมบัติมากมายตามหน้าที่ของสารแต่ละตัวคือ
ช่วยลดฟอง
ช่วยทำให้เกิดการแห้งตัวเร็ว
ช่วยทำให้ทนต่อการขูดขีด
ช่วยทำให้เกิดความเงาตามที่ต้องการ
ช่วยทำให้ง่ายในขบวนการผลิต
ช่วยทำให้ผิวสีเต่งตึง
ช่วยทำให้ผิวสีเรียบลื่น
ฯลฯ